วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

ปฏิกิริยาการหายใจแสง ขั้นที่ 2

ขั้นที2
กรดไกลโคลิก เคลื่อนย้ายจากคลอโรพลาสต์เข้าสู่เพร๊อกซิโซม
( peroxisome ) และถูกออกซิไดซ์โดยเอนไซม์ไกลโคเลตออกซิเดส
( glycolate oxidase ) ได้กรดไกลออกไซลิก ( glyoxylic acid ) และ
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ซึ่งจะถูกเร่งปฏิกิริยาโดยเอนไซม์คะตะเลส
( catalase ) เป็นน้ำและแก๊สออกซิเจนเป็นการลดความเป็นพิษของ
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ลง










วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2552

ปฏิกิริยา การหายใจแสงแบ่งเป็น

ปฏิกิริยา การหายใจแสงแบ่งเป็น
ขั้นตอนได้ ดังนี้


ขั้นที่1
RuBP ทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนในคลอโร
พลาสต์ได้ กรดฟอสฟอไกลโคลิก ( phosphoglycolic acid )
และ PGA โดยการเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ ไรบูโลสบิ
ฟอสเฟต-ออกซิจีเนส ( RuBP oxygenase ) ซึ่งเป็นเอนไซม์ตัว
เดียวกับไรบูโลส บิสฟอสเฟตคาร์บอกซิเลส ต่อจากนั้น
กรดฟอสฟอไกลโคลิก ถูกเร่งปฏิกิริยาด้วยเอนไซม์ ฟอสฟาเทส
( phosphatase ) ได้กรดไกลโคลิกและฟอสเฟต


ในวัฏจักรแคลวิน RuBP จะทำปฏิกิริยากับ CO2ได้ PGA 2 โมเลกุล โดยการเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ RuBP
คาร์บอกซิเลส


วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2552

ความสัมพันธ์ของการสังเคราะห์แสงกับการหายใจแสง

ความสัมพันธ์ของการสังเคราะห์แสงกับการหายใจแสง



Photorespiration_การหายใจแสง



การหายใจแสง หรือ Photorespiration
การหายใจแสงหรือโฟโตเรสไพเรชัน หมายถึง การใช้
แก๊สออกซิเจนและคายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ในขณะที่
พืชสังเคราะห์ด้วยแสงโดยมีลักษณะที่
แตกต่างจาก
การหายใจแบบปกติ เพราะไม่ได้ใช้น้ำตาลกลูโคสเป็น
สารตั้งต้นและไม่มีกระบวนการไกลโคไลซีสและ
วัฏจักรเครบส์
แต่จะใช้สาร RuBP เป็นสารตั้งต้น
ทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจน และผ่านวิธีไกลโคเลต
( glycolate pathway )

Photorespiration คือปฏิกิริยายับยั้งการสังเคราะห์แสง โดยที่มี O2 เป็น inhibitor ทำให้ไม่สามารถเกิด calvin cycle ได้ กล่าวคือเมื่อ temp สูงขึ้น rubisco จะมี affinity ต่อ O2 ได้ดีขึ้นจนในที่สุด O2 สามารถชนะในการแข่งขันกับ CO2 เพื่อเข้าจับตรง active site ของ rubisco ได้