วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ผู้จัดทำ *-*"



นางสาวพัชรา สุทธิบูรณ์






























นางสาวพรนิภา ภักดี






นางสาวศิริพรรณ ประดิษฐ์สุวรรณ

นางสาวกนกวรรณ ทับทิมทอง

พวกเรานักเรียนชั้น ม.5/1

โรงเรียนเกาะโพธิ์ถ้วยงามวิทยา

สรุป ^_^

จะเห็นได้ว่าพืชที่มีการหายใจแสงซึ่งเป็นพวกพืช C3
RuBP ทำปฏิกิริยาได้ทั้งแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สออกซิเจน
ดังนั้น ถ้าพืช C3 ได้รับแสงมาก ปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสงใน
ปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสงเกิดมากจึงเกิดแก๊สออกซิเจนมากด้วย
ความเข้มข้นของแก๊สออกซิเจนสูงทำให้ RuBP และแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ทำปฏิกิริยากันได้น้อยลง เกิด PGA น้อยลง
ทำให้วัฏจักรแคลวินเกิดได้น้อยลงด้วย ทำให้ประสิทธิภาพ
การสังเคราะห์ด้วยแสงลดลง ดังนั้นพืชที่มีการหายใจแสง
ประสิทธิภาพการสังเคราะห์ด้วยแสงต่ำกว่าพืชที่ไม่มีการหายใจแสง
พืช C3 จึงมีประสิทธิภาพการสังเคราะห์ด้วยแสงต่ำกว่าพืช C4
เพราะ
พืช C3 มีการหายใจแสง ส่วนพืช C4 ไม่มีการหายใจแสง
หรือก็มีได้น้อยมาก




ปฏิกิริยาการหายใจแสง ขั้นที่4

กรดอะมิโนไกลซีน ถูกลำเลียงเข้าสู่ไมโทคอนเดรีย และรวมตัว
กับกรดอะมิโนไกลซีนอีกโมเลกุลหนึ่ง เป็นกรด อะมิโนเซรีน โดยการ
เร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์
ไกลซีนด ีคาร์บอกซิเลส
( glycine decarboxylase )

และเอนไซม์ไฮดรอกซีเมทิลทรานเฟอเรส
( hydorxymethyl transferase )
และมีการปลดปล่อยแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สแอมโมเนีย กรดอะมิโนเซรีนที่เกิดขึ้น
ถูกนำไปใช้ในการสร้างน้ำตาลและแป้งในคลอโรพลาสต์หรือ
ถูกใช้ในกิจกรรมอื่น แก๊สแอมโมเนียถูกนำไปสร้างกรดอะมิโน
ไกลซีนจากกรดไกลออกไซลิกในเพร๊อกซิโซมได้อีก ส่วน
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ถูกปลดปล่อยออกนอก ไมโทคอนเดรีย
และออกนอกเซลล์ซึ่งถือเป็นการสูญเสียคาร์บอนของพืช

ปฏิกิริยาการหายใจแสง ขั้นที่3


กรดไกลออกไซลิก รับหมู่อะมิโนจากกรดอะมิโนเซรีนได้
กรดอะมิโนไกลซีน โดยการเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ทรานอะมิเนส
( transaminase ) ในเพร๊อกซิโซม